วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ปลากัด

ปลากัด

ปลากัดมีรูปร่างเพรียวยาวและแบนข้าง หัวมีขนาดเล็ก ครีบก้นยาวจรดครีบหาง หางแบนกลม มีอวัยวะช่วยหายใจบนผิวน้ำได้โดยใช้ปากฮุบอากาศโดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป เกล็ดสากเป็นแบบทีนอยด์ ปกคลุมจนถึงหัว ริมฝีปากหนา ตาโต ครีบอกคู่แรกยาวใช้สำหรับสัมผัส ปลาตัวผู้มีสีน้ำตาลเหลือบแดงและน้ำเงินหรือเขียว ครีบสีแดงและมีแถบสีเหลืองประ ในขณะที่ปลาตัวเมียสีจะซีดอ่อนและมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามากจนเห็นได้ชัด
ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6 เซนติเมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำนิ่งตื้น ๆ ขนาดเล็กของที่ราบลุ่มภาคกลางและบางส่วนของภาคเหนือในประเทศไทยเท่านั้น สถานะปัจจุบันในธรรมชาติถูกคุกคามจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและสารเคมีที่ตกค้าง[3]

อ้างอิง  https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%94


ไก่ชน

ไก่ชน

ไก่ชน หมายถึง ไก่สายพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งไก่พื้นเมืองอาจมีการแบ่งเป็นประเภททั่วไปได้ 2 ลักษณะ คือ การเลี้ยงไว้เพื่อประกวดการต่อสู้ และความสวยงาม กับการเลี้ยงไว้เพื่อการฆ่าและบริโภคเนื้อเป็นอาหาร ไก่ชน เป็นสัตว์เลี้ยงที่ผูกพันกับสังคมทุกชนชั้นมาแต่โบราณ ตามประวัติศาสตร์แม้ในราชสำนักในสมัยสุโขทัยก็มีการเลี้ยงไก่ชน[1] ,ไก่ชนในปัจจุบันนอกจากเลี้ยงไว้ประกวดการต่อสู้แต่ก็ได้ยอมรับเรื่องการฆ่าเป็นอาหารด้วยเมื่อต่อสู้แพ้ และในวิถีชีวิตตามชนบท ไก่ชน ก็หมายถึงแหล่งอาหารของพวกเขาด้วยเช่นกัน ซึ่งเราพบเห็นได้จากการเลี้ยงได้ทั่วไปในวิถีชีวิตประจำวันของสังคมเกษตรกรรม แต่บางแห่งโดยเฉพาะชาวพุทธ เชื่อว่าเกมกีฬาชนไก่ เป็นกีฬาที่ทารุณ เช่นเดียวกับกีฬาชนวัว และการกัดปลา ในกีฬาปลากัด

อ้างอิง  https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%8A%E0%B8%99



ปู

ปู

ปู เป็นสัตว์พวกเท้าปล้องชนิดหนึ่ง อยู่ในไฟลัมอาโทรโพดา ในอันดับฐานบราชีอูรา (Brachyura) มีลักษณะสิบขา มีหลายชนิดที่อยู่ทั้งน้ำจืดและทะเล รวมถึงอยู่แต่เฉพาะบนบก
ปูจะมีกระดองซึ่งเป็นแคลเซียมแข็ง มีลักษณะสมมาตร แอบโดเมนพับลงไปอยู่ใต้กระดอง ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของอันดับฐานนี้ มีก้ามใหญ่ 1 คู่ มีขาเดิน 6 คู่ แตกออกเป็นรัศมีไปทางด้านข้างลำตัว หนวดคู่ที่ 2 อยู่ระหว่างตา ส่วนหาง ไม่มีหน้าที่ชัดเจน และไม่มีแพนหาง
ปูในแนวปะการังมีหลายกลุ่มหลายรูปร่างโดยสัมพันธ์กับพฤติกรรม ปูหลายชนิดอาศัยตามพื้นทราย จะมีขาว่ายน้ำหรือกรรเชียงคล้ายปูม้า บางชนิดตัวใหญ่ มีกระดองแข็งคล้ายปูทะเล มีขาสั้นและแข็งแรงเพื่อเกาะยึดกับหิน เช่นปูใบ้ก้ามดำ [2]
ปูบางชนิดมีรูปร่างแปลกเพื่อพรางตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม บางชนิดมีสีและลักษณะกระดองเหมือนกัลปังหา ปะการังอ่อน หรือดาวขนนก ในจำนวนนี้ยังมีปูที่นำฟองน้ำหรือสาหร่ายมาติดตามตัวเพื่อใช้พรางกาย [2]
ปูกลุ่มหนึ่งที่มีวิวัฒนาการมากกว่ากลุ่มอื่นคือ ปูเสฉวนจะเปลี่ยนส่วนท้องให้นิ่มและขดงอเพื่อสามารถเข้าไปอยู่ในเปลือกหอย นำเปลือกหอยติดตัวไปด้วยตลอดเวลา ซึ่งจะจัดอยู่ในอันดับฐานปูปลอม (Anomura)[2]
ปัจจุบันปูได้รับการจำแนกไว้แล้วกว่า 6,000 ชนิด ส่วนใหญ่พบในแถบอินโด-แปซิฟิก ในประเทศไทยพบแล้วรวม 824 ชนิด[3]

อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%B9

นักเลง

นักเลง

พวกนักเลงพวกโจร หรือทับศัพท์ว่า แก๊ง (อังกฤษgang) เป็นกลุ่มปัจเจกบุคคลที่คบกัน เพื่อนสนิทหรือครอบครัวที่มีผู้นำที่ระบุตัวได้และมีการจัดระเบียบภายใน มีการพิจารณาหรืออ้างการควบคุมเหนือพื้นที่ในชุมชน และดำเนินพฤติกรรมรุนแรงหรือมิชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าปัจเจกหรือเป็นกลุ่ม สมาชิกพวกนักเลงอาชญากรบางคน "โจน" หรือจำต้องพิสูจน์ความภักดีของตนโดยการกระทำอย่างโจรกรรมหรือความรุนแรง สมาชิกของพวกนักเลงอาจเรียก นักเลงหรือคนร้าย (gangster หรือ thug)

อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%87





แมว

แมว

แมว (ชื่อวิทยาศาสตร์Felis catus) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในตระกูล Felidae ต้นตระกูลมาจากเสือไซบีเรีย (Felis tigris altaica) ซึ่งมีช่วงลำตัวตั้งแต่จมูกถึงปลายหางยาวประมาณ 4 เมตร แมวที่เลี้ยงตามบ้าน จะมีรูปร่างขนาดเล็ก ขนาดลำตัวยาว ช่วงขาสั้นและจัดอยู่ในกลุ่มของประเภทสัตว์กินเนื้อ มีเขี้ยวและเล็บแหลมคมสามารถหดซ่อนเล็บได้เช่นเดียวกับเสือ สืบสายเลือดมาจากแมวป่าที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งลักษณะบางอย่างของแมวยังคงพบเห็นได้ในแมวบ้านปัจจุบัน
แมวเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เมื่อประมาณ 9500 ปีก่อน [5] ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของแมวคือการทำมัมมี่แมวที่พบในสมัยอียิปต์โบราญ หรือในพิพิธภัณฑ์อังกฤษในลอนดอน มีการแสดงสมบัติที่นำออกมาจากพีระมิดโบราณแห่งอียิปต์ ซึ่งรวมถึงมัมมี่เหมียวหลายตัว ซึ่งเมื่อนำเอาผ้าพันมัมมี่ออกก็พบว่า แมวในสมัยโบราณทุกตัวมีลักษณะใกล้เคียงกัน คือเป็นแมวที่มีรูปร่างเล็ก ขนสั้นมีแต้มสีน้ำตาล มีความคล้ายคลึงกับพันธุ์ในปัจจุบัน ที่เรียกว่าแมวอะบิสซิเนีย

อ้างอิง  https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%A7

ปลาแฟนซีคาร์ป

ปลาแฟนซีคาร์ป

ประวัติ[แก้]

เป็นปลาคาร์ปที่ถูกพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาจากปลาคาร์ปธรรมดา ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติหรือที่นำมารับประทานกันเป็นอาหาร เพื่อการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเริ่มต้นขึ้นในราว ค.ศ. 200-ค.ศ. 300 โดยปลาคาร์ปต้นสายพันธุ์นั้นมีเพียง 3 สีเท่านั้น คือ แดงขาว และน้ำเงิน มีบันทึกว่าปลาคาร์ปบางตัวได้พัฒนาตัวเองมาเป็นสีส้ม ดังนั้นชาวจีนจึงนิยมนำมาเลี้ยงเพื่อเป็นความเป็นสิริมงคล
จากนั้นจึงได้เดินทางเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น บริเวณหมู่บ้านเชิงเขาที่ชื่อ ตาเกซาว่า, ฮิกาชิยามาโอตะ, ตาเนอุฮาร่า และกามากาชิมา โดยชาวบ้านที่หมู่บ้านเหล่านี้ได้นำปลาคาร์ปมาเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารในยามฤดูหนาวหรือช่วงที่อาหารขาดแคลน จากนั้นในศตวรรษที่ 18 ที่เมืองเอจิโกะ ในจังหวัดนีงะตะ ได้บังเอิญเกิดมีปลาคาร์ปตัวหนึ่งซึ่งเป็นสีขาวและสีแดงตลอดทั้งตัวเกิดขึ้นมา สันนิษฐานว่าเป็นการผ่าเหล่า เกิดจากการผสมพันธุ์กันเองภายในสายเลือดใกล้ชิดกัน ซึ่งนำไปสู่การเพาะพันธุ์จนมาได้ ปลาที่มีลักษณะสีขาวสลับแดงในสายพันธุ์ที่มีชื่อว่า "โคฮากุ" (紅白) ขึ้นมาจนถึงในปัจจุบัน
จากนั้นความนิยมในการเลี้ยงปลาคาร์ปในประเทญี่ปุ่นก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1870 มีศูนย์กลางการเพาะเลี้ยงปลาขึ้นบริเวณเชิงเขาเมืองโอจิยะ จังหวัดนิอิกาตะ และฮิโรชิม่า มีการทำฟาร์ม ประกวด และพัฒนาสายพันธุ์จนกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมญี่ปุ่น ในเทศกาลเด็กผู้ชาย ซึ่งตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปี ซึ่งครอบครัวชาวญี่ปุ่นที่มีบุตรชายจะนำธงทิวที่มีสีสันหลากหลายรูปปลาคาร์ป ขึ้นแขวนไว้หน้าบ้าน เพื่อเป็นการแสดงสัญลักษณ์ให้เด็กเติบโตมาอย่างสมบูรณ์แข็งแรง ประดุจปลาคาร์ปที่ว่ายทวนกระแสน้ำเชี่ยว
ในปี ค.ศ. 1914 ได้มีผู้นำปลาคาร์ปขึ้นทูลเกล้าฯ มงกุฎราชกุมารโชวะ ซึ่งนับเป็นจุดที่ทำให้ความนิยมในการเลี้ยงปลาคาร์ปเผยแพร่กว้างไกลยิ่งขึ้น ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดภาวะขาดแคลนอาหารภายในประเทศญี่ปุ่น ปลาคาร์ปจึงถูกใช้ทำเป็นอาหารอีกครั้ง เมื่อสงครามยุติลง ยังมีผู้ที่เลี้ยงปลาที่ได้รักษาสายพันธุ์ไว้ พยายามฟื้นฟูและสงวนสายพันธุ์ขึ้นมา ปลาคาร์ปจึงได้กลับมาอีกครั้งในฐานะปลาสวยงามในวัฒนธรรมญี่ปุ่น จนมาถึงอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
แหล่งผลิตปลาคาร์ปสวยงามของญี่ปุ่นในปัจจุบัน ได้แก่ โอจิยะฮามามัตสึยามาโคชินากาโอะโตชิโอะ และคิตะอุโอนุมา ซึ่งประชากรในเมืองเหล่านี้ส่วนมากจะประกอบเพาะพันธุ์ปลาคาร์ปจำหน่าย โดยอาศัยแหล่งน้ำธรรมชาติ ตลอดจนภูมิอากาศและภูมิประเทศที่เอื้ออำนวยที่อยู่บนเขาซึ่งเหมาะแก่การเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง การเลี้ยงปลาคาร์ปในประเทศญี่ปุ่นจึงเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว ทุกปีจะมีการประกวดทั่วทั้งประเทศ ที่กรุงโตเกียว อันเป็นเมืองหลวง นอกจากนี้แล้วยังมีการประกวดในระดับภูมิภาคแยกย่อยอีก รวมถึงในระดับนานาชาติอีกด้วย
ในปี ค.ศ. 1966 สมาคมผู้เลี้ยงปลาคาร์ปแห่งญี่ปุ่น ได้ร่วมกันสร้างอนุสาวรีย์ปลาคาร์ปขึ้น โดยสลักคำว่า "แหล่งกำเนิดนิชิกอย" (錦鯉起源の新) ขึ้นไว้เป็นอนุสรณ์ขึ้นที่หน้าโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง ในเมืองนิกาตะ เพื่อเป็นการระลึกถึงเมืองที่เป็นจุดกำเนิดปลาแฟนซีคาร์ป


อ้างอิง  https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9F%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9B

การสัก

การสัก

การสัก คือการเขียนสีและลวดลายต่างๆ บนร่างกาย ซึ่ง รอยสัก อาจคงอยู่ชั่วคราวหรือถาวร การสักของแต่ละวัฒนธรรมมีความหมายเฉพาะตัวต่างกันไป

ประวัติการสัก[แก้]

เริ่มต้นจากที่กรีก การสักเป็นการทำสัญลักษณ์เฉพาะใบหน้าของทาส และ อาชญากร ต่อมาการสักเริ่มแพร่หลายในทวีปยุโรป ต่อมาประมาณ ค.ศ. 787 การสักบนใบหน้าถือเป็นการลบหลู่ต่อพระผู้เป็นเจ้า
ในประเทศไทย การสัก หรือ สักเลกนั้นเป็นการทำเครื่องหมายที่ข้อมือ เพื่อแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นไพร่หลวงที่มีสังกัดกรมกอง แต่ถูกยกเลิกไปในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ส่วนที่หน้าผาก หรือการสักท้องแขนใช้กับผู้ต้องโทษจำคุก แต่ยกเลิกในปี พ.ศ. 2475 รวมทั้งการสักยันต์เป็นเหมือนเครื่องรางของขลังตามความเชื่อ
ในญี่ปุ่น การสักเรียกว่า Irezumi ซึ่งมีความหมายว่าการเติมหมึก คาดว่าเริ่มปรากฏในประมาณศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 8 การสักจะประทับตาคนกลุ่มต่างๆ เพื่อแบ่งแยกเช่น เพชฌฆาต สัปเหร่อ อาชญากร จนกระทั่งเริ่มมีการสักแบบ Horibari ที่มักจะสักลวดลายต่างๆทั่วร่างกาย และเริ่มแพร่หลายในปี ค.ศ. 1750 โดยนิยมมากในหมู่ Eta ซึ่งเป็นกลุ่มคมฐานะชั้นต่ำที่สุด ลวดลายต่างๆมักเป็นจิตรกรรมที่มีชื่อเสียง ตลอดจนเทพเจ้า ตามความเชื่อทางศาสนา และนิทานพื้นบ้าน



อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%81



วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ค่ายลูกเสือ

ค่ายลูกเสือ

กิจการการลูกเสือ ได้อุบัติขึ้นเป็นแห่งแรกของโลก โดยลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (อังกฤษLord Baden Powell) เรียกย่อว่า "บี พี" ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) สืบเนื่องจากการรบกับพวกบัวร์ (Boar) ในการรักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking) ที่แอฟริกาใต้ในปี พ.ศ. 2442 ซึ่งบี พี ได้ตั้งกองทหารเด็กให้ช่วยสอดแนมการรบ จนรบชนะข้าศึกเมื่อกลับไปประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2450 จึงได้ทดลองนำเด็กชาย 20 คน ไปอยู่ค่ายพักแรมที่เกาะบราวน์ซี (อังกฤษBrowmsea Islands) ซึ่งได้ผลดีตามที่คาดหมายไว้ ปี พ.ศ. 2451 บี พี จึงได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ที่ประเทศอังกฤษ





อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD