วันเสาร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2560

วันวิชาการ

วันวิชาการ

วันวิชาการโรงเรียนตราดสรรเสริญวิทยาคม ปีการศึกษาปี 2559
มีการแสดงต่างๆและมีซุ้มต่างๆที่มีความรู้ในวิชาเรียนทั้ง 8 สาระ
มีซุ้มที่ทำอาหารขายมากมาย



วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ปลากัด

ปลากัด

ปลากัดมีรูปร่างเพรียวยาวและแบนข้าง หัวมีขนาดเล็ก ครีบก้นยาวจรดครีบหาง หางแบนกลม มีอวัยวะช่วยหายใจบนผิวน้ำได้โดยใช้ปากฮุบอากาศโดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป เกล็ดสากเป็นแบบทีนอยด์ ปกคลุมจนถึงหัว ริมฝีปากหนา ตาโต ครีบอกคู่แรกยาวใช้สำหรับสัมผัส ปลาตัวผู้มีสีน้ำตาลเหลือบแดงและน้ำเงินหรือเขียว ครีบสีแดงและมีแถบสีเหลืองประ ในขณะที่ปลาตัวเมียสีจะซีดอ่อนและมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามากจนเห็นได้ชัด
ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6 เซนติเมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำนิ่งตื้น ๆ ขนาดเล็กของที่ราบลุ่มภาคกลางและบางส่วนของภาคเหนือในประเทศไทยเท่านั้น สถานะปัจจุบันในธรรมชาติถูกคุกคามจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและสารเคมีที่ตกค้าง[3]

อ้างอิง  https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%94


ไก่ชน

ไก่ชน

ไก่ชน หมายถึง ไก่สายพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งไก่พื้นเมืองอาจมีการแบ่งเป็นประเภททั่วไปได้ 2 ลักษณะ คือ การเลี้ยงไว้เพื่อประกวดการต่อสู้ และความสวยงาม กับการเลี้ยงไว้เพื่อการฆ่าและบริโภคเนื้อเป็นอาหาร ไก่ชน เป็นสัตว์เลี้ยงที่ผูกพันกับสังคมทุกชนชั้นมาแต่โบราณ ตามประวัติศาสตร์แม้ในราชสำนักในสมัยสุโขทัยก็มีการเลี้ยงไก่ชน[1] ,ไก่ชนในปัจจุบันนอกจากเลี้ยงไว้ประกวดการต่อสู้แต่ก็ได้ยอมรับเรื่องการฆ่าเป็นอาหารด้วยเมื่อต่อสู้แพ้ และในวิถีชีวิตตามชนบท ไก่ชน ก็หมายถึงแหล่งอาหารของพวกเขาด้วยเช่นกัน ซึ่งเราพบเห็นได้จากการเลี้ยงได้ทั่วไปในวิถีชีวิตประจำวันของสังคมเกษตรกรรม แต่บางแห่งโดยเฉพาะชาวพุทธ เชื่อว่าเกมกีฬาชนไก่ เป็นกีฬาที่ทารุณ เช่นเดียวกับกีฬาชนวัว และการกัดปลา ในกีฬาปลากัด

อ้างอิง  https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%8A%E0%B8%99



ปู

ปู

ปู เป็นสัตว์พวกเท้าปล้องชนิดหนึ่ง อยู่ในไฟลัมอาโทรโพดา ในอันดับฐานบราชีอูรา (Brachyura) มีลักษณะสิบขา มีหลายชนิดที่อยู่ทั้งน้ำจืดและทะเล รวมถึงอยู่แต่เฉพาะบนบก
ปูจะมีกระดองซึ่งเป็นแคลเซียมแข็ง มีลักษณะสมมาตร แอบโดเมนพับลงไปอยู่ใต้กระดอง ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของอันดับฐานนี้ มีก้ามใหญ่ 1 คู่ มีขาเดิน 6 คู่ แตกออกเป็นรัศมีไปทางด้านข้างลำตัว หนวดคู่ที่ 2 อยู่ระหว่างตา ส่วนหาง ไม่มีหน้าที่ชัดเจน และไม่มีแพนหาง
ปูในแนวปะการังมีหลายกลุ่มหลายรูปร่างโดยสัมพันธ์กับพฤติกรรม ปูหลายชนิดอาศัยตามพื้นทราย จะมีขาว่ายน้ำหรือกรรเชียงคล้ายปูม้า บางชนิดตัวใหญ่ มีกระดองแข็งคล้ายปูทะเล มีขาสั้นและแข็งแรงเพื่อเกาะยึดกับหิน เช่นปูใบ้ก้ามดำ [2]
ปูบางชนิดมีรูปร่างแปลกเพื่อพรางตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม บางชนิดมีสีและลักษณะกระดองเหมือนกัลปังหา ปะการังอ่อน หรือดาวขนนก ในจำนวนนี้ยังมีปูที่นำฟองน้ำหรือสาหร่ายมาติดตามตัวเพื่อใช้พรางกาย [2]
ปูกลุ่มหนึ่งที่มีวิวัฒนาการมากกว่ากลุ่มอื่นคือ ปูเสฉวนจะเปลี่ยนส่วนท้องให้นิ่มและขดงอเพื่อสามารถเข้าไปอยู่ในเปลือกหอย นำเปลือกหอยติดตัวไปด้วยตลอดเวลา ซึ่งจะจัดอยู่ในอันดับฐานปูปลอม (Anomura)[2]
ปัจจุบันปูได้รับการจำแนกไว้แล้วกว่า 6,000 ชนิด ส่วนใหญ่พบในแถบอินโด-แปซิฟิก ในประเทศไทยพบแล้วรวม 824 ชนิด[3]

อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%B9

นักเลง

นักเลง

พวกนักเลงพวกโจร หรือทับศัพท์ว่า แก๊ง (อังกฤษgang) เป็นกลุ่มปัจเจกบุคคลที่คบกัน เพื่อนสนิทหรือครอบครัวที่มีผู้นำที่ระบุตัวได้และมีการจัดระเบียบภายใน มีการพิจารณาหรืออ้างการควบคุมเหนือพื้นที่ในชุมชน และดำเนินพฤติกรรมรุนแรงหรือมิชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าปัจเจกหรือเป็นกลุ่ม สมาชิกพวกนักเลงอาชญากรบางคน "โจน" หรือจำต้องพิสูจน์ความภักดีของตนโดยการกระทำอย่างโจรกรรมหรือความรุนแรง สมาชิกของพวกนักเลงอาจเรียก นักเลงหรือคนร้าย (gangster หรือ thug)

อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%87





แมว

แมว

แมว (ชื่อวิทยาศาสตร์Felis catus) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในตระกูล Felidae ต้นตระกูลมาจากเสือไซบีเรีย (Felis tigris altaica) ซึ่งมีช่วงลำตัวตั้งแต่จมูกถึงปลายหางยาวประมาณ 4 เมตร แมวที่เลี้ยงตามบ้าน จะมีรูปร่างขนาดเล็ก ขนาดลำตัวยาว ช่วงขาสั้นและจัดอยู่ในกลุ่มของประเภทสัตว์กินเนื้อ มีเขี้ยวและเล็บแหลมคมสามารถหดซ่อนเล็บได้เช่นเดียวกับเสือ สืบสายเลือดมาจากแมวป่าที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งลักษณะบางอย่างของแมวยังคงพบเห็นได้ในแมวบ้านปัจจุบัน
แมวเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เมื่อประมาณ 9500 ปีก่อน [5] ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของแมวคือการทำมัมมี่แมวที่พบในสมัยอียิปต์โบราญ หรือในพิพิธภัณฑ์อังกฤษในลอนดอน มีการแสดงสมบัติที่นำออกมาจากพีระมิดโบราณแห่งอียิปต์ ซึ่งรวมถึงมัมมี่เหมียวหลายตัว ซึ่งเมื่อนำเอาผ้าพันมัมมี่ออกก็พบว่า แมวในสมัยโบราณทุกตัวมีลักษณะใกล้เคียงกัน คือเป็นแมวที่มีรูปร่างเล็ก ขนสั้นมีแต้มสีน้ำตาล มีความคล้ายคลึงกับพันธุ์ในปัจจุบัน ที่เรียกว่าแมวอะบิสซิเนีย

อ้างอิง  https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%A7

ปลาแฟนซีคาร์ป

ปลาแฟนซีคาร์ป

ประวัติ[แก้]

เป็นปลาคาร์ปที่ถูกพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาจากปลาคาร์ปธรรมดา ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติหรือที่นำมารับประทานกันเป็นอาหาร เพื่อการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเริ่มต้นขึ้นในราว ค.ศ. 200-ค.ศ. 300 โดยปลาคาร์ปต้นสายพันธุ์นั้นมีเพียง 3 สีเท่านั้น คือ แดงขาว และน้ำเงิน มีบันทึกว่าปลาคาร์ปบางตัวได้พัฒนาตัวเองมาเป็นสีส้ม ดังนั้นชาวจีนจึงนิยมนำมาเลี้ยงเพื่อเป็นความเป็นสิริมงคล
จากนั้นจึงได้เดินทางเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น บริเวณหมู่บ้านเชิงเขาที่ชื่อ ตาเกซาว่า, ฮิกาชิยามาโอตะ, ตาเนอุฮาร่า และกามากาชิมา โดยชาวบ้านที่หมู่บ้านเหล่านี้ได้นำปลาคาร์ปมาเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารในยามฤดูหนาวหรือช่วงที่อาหารขาดแคลน จากนั้นในศตวรรษที่ 18 ที่เมืองเอจิโกะ ในจังหวัดนีงะตะ ได้บังเอิญเกิดมีปลาคาร์ปตัวหนึ่งซึ่งเป็นสีขาวและสีแดงตลอดทั้งตัวเกิดขึ้นมา สันนิษฐานว่าเป็นการผ่าเหล่า เกิดจากการผสมพันธุ์กันเองภายในสายเลือดใกล้ชิดกัน ซึ่งนำไปสู่การเพาะพันธุ์จนมาได้ ปลาที่มีลักษณะสีขาวสลับแดงในสายพันธุ์ที่มีชื่อว่า "โคฮากุ" (紅白) ขึ้นมาจนถึงในปัจจุบัน
จากนั้นความนิยมในการเลี้ยงปลาคาร์ปในประเทญี่ปุ่นก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1870 มีศูนย์กลางการเพาะเลี้ยงปลาขึ้นบริเวณเชิงเขาเมืองโอจิยะ จังหวัดนิอิกาตะ และฮิโรชิม่า มีการทำฟาร์ม ประกวด และพัฒนาสายพันธุ์จนกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมญี่ปุ่น ในเทศกาลเด็กผู้ชาย ซึ่งตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปี ซึ่งครอบครัวชาวญี่ปุ่นที่มีบุตรชายจะนำธงทิวที่มีสีสันหลากหลายรูปปลาคาร์ป ขึ้นแขวนไว้หน้าบ้าน เพื่อเป็นการแสดงสัญลักษณ์ให้เด็กเติบโตมาอย่างสมบูรณ์แข็งแรง ประดุจปลาคาร์ปที่ว่ายทวนกระแสน้ำเชี่ยว
ในปี ค.ศ. 1914 ได้มีผู้นำปลาคาร์ปขึ้นทูลเกล้าฯ มงกุฎราชกุมารโชวะ ซึ่งนับเป็นจุดที่ทำให้ความนิยมในการเลี้ยงปลาคาร์ปเผยแพร่กว้างไกลยิ่งขึ้น ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดภาวะขาดแคลนอาหารภายในประเทศญี่ปุ่น ปลาคาร์ปจึงถูกใช้ทำเป็นอาหารอีกครั้ง เมื่อสงครามยุติลง ยังมีผู้ที่เลี้ยงปลาที่ได้รักษาสายพันธุ์ไว้ พยายามฟื้นฟูและสงวนสายพันธุ์ขึ้นมา ปลาคาร์ปจึงได้กลับมาอีกครั้งในฐานะปลาสวยงามในวัฒนธรรมญี่ปุ่น จนมาถึงอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
แหล่งผลิตปลาคาร์ปสวยงามของญี่ปุ่นในปัจจุบัน ได้แก่ โอจิยะฮามามัตสึยามาโคชินากาโอะโตชิโอะ และคิตะอุโอนุมา ซึ่งประชากรในเมืองเหล่านี้ส่วนมากจะประกอบเพาะพันธุ์ปลาคาร์ปจำหน่าย โดยอาศัยแหล่งน้ำธรรมชาติ ตลอดจนภูมิอากาศและภูมิประเทศที่เอื้ออำนวยที่อยู่บนเขาซึ่งเหมาะแก่การเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง การเลี้ยงปลาคาร์ปในประเทศญี่ปุ่นจึงเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว ทุกปีจะมีการประกวดทั่วทั้งประเทศ ที่กรุงโตเกียว อันเป็นเมืองหลวง นอกจากนี้แล้วยังมีการประกวดในระดับภูมิภาคแยกย่อยอีก รวมถึงในระดับนานาชาติอีกด้วย
ในปี ค.ศ. 1966 สมาคมผู้เลี้ยงปลาคาร์ปแห่งญี่ปุ่น ได้ร่วมกันสร้างอนุสาวรีย์ปลาคาร์ปขึ้น โดยสลักคำว่า "แหล่งกำเนิดนิชิกอย" (錦鯉起源の新) ขึ้นไว้เป็นอนุสรณ์ขึ้นที่หน้าโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง ในเมืองนิกาตะ เพื่อเป็นการระลึกถึงเมืองที่เป็นจุดกำเนิดปลาแฟนซีคาร์ป


อ้างอิง  https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9F%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9B